วันพฤหัสบดีที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2553

กฏหมาย PL Law

 ว่าด้วยเรื่อง PL Law "พระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดจากสินค้าไม่ปลอดภัย พ.ศ.2552" นับจากที่กฏหมายได้ประกาศใช้แล้ว ทางโรงงานของเจ้าของบล็อก ก็ตื่นตัวนิดหน่อยเนื่องจาก PL Law เป็นกฏหมายอาญา มิใช่กฏหมายแพ่ง/พาณิชย์แต่อย่างใด

อ้าวงานกำลังจะเข้าแล้ว ก่อนจะเริ่มว่ามีงานอะไรเข้าบ้าง ผู้เขียนขอเกริ่นนำก่อนนะจ๊ะว่าประเด็นสำคัญๆ มีว่าอย่างไรบ้้าง

กฏหมาย PL Law แตกต่างจากการฟ้องร้องเรียกร้องค่าเสียหายตรงไหน
- PL Law เป็นกฏหมายอาญาที่เกิดกับชีวิตและทรัพย์สิน ซึ่งแตกต่างจากการร้องเรียนด้านคุณภาพ (กฏหมายแ่งและพาณิชย์)
การฟ้องร้องตามกฏหมาย PL จะเกิดขึ้นได้อย่างไร
- การจะฟ้องกันกันจะเกิดขึ้นเมื่อเกิดความเสียหายขึ้นจริง แต่ถ้าเป็นเหตุการณ์ที่รู้สึกว่าจะไม่ปลอดภัยและยังไม่เกิดขึ้นจะไม่สามารถ ฟ้องร้องได้จ้า
ผู้มีสิทธิฟ้องร้องตามกฏหมาย PL
- ไม่ว่าจะเป็นผู้ซื้อสินค้า, ผู้บริโภค (ผู้ได้รับความเสียหาย, สคบ., ศาล, มูลนิธิหรือสมาคมต่างๆ ที่ สคบ.รับรองไว้)
ผู้รับผิด (ฟ้องร้องใคร)
- ผู้ผลิต หรือผู้ว่าจ้างให้ผลิต, ผู้นำเข้า, ผู้ขาย (เฉพาะกรณีที่ไม่สามารถระบุผู้ผลิตได้), ผู้ใช้ชื่อการเข้าเพื่อให้เข้าใจว่าเป็นผู้ผลิต ผู้ว่าจ้างให้ผลิต หรือผู้นำเข้า (ก็ห้างที่มาทำให้โชห่วยทรุดนั่นแหละ)

การที่เราจะฟ้องร้องต้องศึกษาตัวกฏหมายให้ดีๆ ก่อนนะ เดี๋ยวจะโดนฟ้องร้องกลับข้อหาทำให้เสียชื่อเสียงจะยุ่งไปกันใหญ่ ส่วนสินค้าที่มีสิทธิฟ้องร้องได้จะถูกระบุไว้ในตัวกฏหมายที่ประกาศใช้แล้ว อาทิ เช่น สังหาริมทรัพย์ทุกชนิดที่ผลิต หรือนำเข้าเพื่อขาย รวมทั้งผลิตผลทางเกษตรกรรมและกระแสไฟฟ้าด้วย (ก็สิ่งที่อยู่รอบๆ ตัวเราทั้งนั้น) แต่จะยกเว้นที่ดิน บ้าน และการบริการนะจ๊ะ

ส่วนสาเหตุที่จะทำให้เกิดความไม่ปลอดภัย จะแบ่งเป็น 3 เรื่องใหญ่ๆ คือ
1. การออกแบบ
2. การผลิต
3. คำเตือนที่ไม่เพียงพอ

เคยสังเกตไหมว่าเดินห้างจะซื้อของมาสักอย่าง เช่น แก้วน้ำ ก็เห็นอยู่มันคือแก้วน้ำแต่มีการเขียนวิธีการใช้ด้วยว่าได้สำหรับใส่น้ำดื่ม เพื่ออะไรกันนี่ (ป้ายเตือนขำๆ) เพื่อป้องกันผู้บริโภคเ้ข้าใจผิดแล้วนำไปใช้อย่างอื่นจนผิดวิธีแล้วทำให้ เกิดความไม่ปลอดภัย (คำเตือนนี้ถือว่าเพียงพอแล้วกระมัง)

ดึกแล้วเดี๋ยวว่างๆ ค่อยมา Up ใหม่